ประเพณีฤดูใบไม้ร่วงของญี่ปุ่น “เทศกาลไหว้พระจันทร์”
สารบัญ
พอเข้าสู่ช่วงฤดูใบไม้ร่วงคนญี่ปุ่นก็จะออกมา “ไหว้พระจันทร์” หรือ “ชมจันทร์” ในคืนวันที่ 15 เดือนสิงหาคมตามปฏิทินจันทร์คติสมัยก่อน (สมัยนี้ก็จะเท่ากับวันที่ 15 เดือนกันยายน) ในคืนนี้จะเป็นคืนเดือนเพ็ญ ครอบครัวต่างๆนาๆก็จะประดับบ้านของตัวเองด้วยหญ้าแพมพัซ แล้วทาน “ขนมดังโกะไหว้พระจันทร์” ระหว่างชมดวงจันทร์
ความหมายของการไหว้พระจันทร์
ความหมายของการไหว้พระจันทร์คือ “การขอบคุณพระจันทร์ที่ให้การเก็บเกี่ยวที่ดี” ฤดูใบไม้ร่วงเป็นฤดูแห่งการเก็บเกี่ยวและเป็นช่วงเวลาที่สามารถเห็นพระจันทร์เต็มดวงอย่างสวยงามที่สุด จึงเหมาะต่อการแสดงความสำนึกบุญคุณต่อพระจันทร์ที่สุด
สมัยก่อน ผู้คนจะถวายมันฝรั่งและถั่วที่เก็บเกี่ยวได้ในช่วงเวลานั้นแล้วถวายให้กับดวงจันทร์ ต่อมาก็ได้มีการคิดข้น “อาหารที่พิเศษสำหรับคนญี่ปุ่น” หรือ “ขนมดังโกะ” ที่ใช้เมล็ดข้าวมาปั้นให้เป็นทรงกลมเหมือนพระจันทร์แล้วถวายให้กับดวงจันทร์
แถมการประดับบ้านเรือนด้วยหญ้าแพมพัซก็มีความหมายด้วย
อย่างที่อธิบายไปแล้ว “เมล็ดข้าว” เป็นอาหารพิเศษสำหรับคนญี่ปุ่น แล้วหญ้าแพมพัซนี้ก็ดูเหมือนต้นข้าวพอเมล็ดแตกหน่อ ทีนี้ ช่วงฤดูกาลไหว้พระจันทร์นั้นไม่ตวงกับช่วงเวลาเก็บเกี่ยวข้าวจึงใช้หญ้าแพมพัซแทนเพื่อแสดงความสำนึกบุญคุณต่อพระเจ้า
มาลองทำขนมดังโกะไหว้พระจันทร์กันเถอะ!
คราวนี้ ขนมดังโกะที่กินกันในช่วงเทศกาลไหว้พระจันทร์นั้นทำได้ไม่ยาก เพื่อแค่เอาน้าและแป้งข้าวเหนียว (จะถูกขายภายใต้ชื่อ “mochiko” หรือ “Sweet Rice Flour”) มานวดให้กลมแล้วเอาไปต้ม เพียงแค่ค้นหาคำว่า “สูตรทำดังโกะ”
ลงไปในอินเตอร์เน็ตก็สามารถหาวิธีทำได้ไม่ยาก ใครที่สนใจอยากลองทำดังโกะก็ลองดูนะครับ!
อาหารอื่นๆสำหรับ “ไฟว้พระจันทร์”?
ในประเทศญี่ปุ่นก็มี “อุด้งไหว้พระจันทร์” “โซบะไหว้พระจันทร์” “แฮมเบอร์เกอร์ไหว้พระจันทร์” และอาหารอื่นๆอีกมากมายที่มีคำว่า “ไหว้พระจันทร์” อยู่ในชื่อ
ในกรณีนี้ คำว่า “ไหว้พระจันทร์” จะมีความหมายว่า “ใข่” นั้นเอง เพราะว่าใข่แดงนั้นมีรูปทรงกลมเหมือนดวงจันทร์ ฉะนั้นใข่ที่ใส่ลงไปในอุด้งหรือโซบะหรือแฮมเบอร์เกอร์ที่สอดใส้ใข่ดาวก็จะมีชื่อว่า “〇〇ไหว้พระจันทร์” ให้อาหารต่างๆได้เป็นส่วนร่วมกับเทศกาลไหว้พระจันทร์ด้วย
เป็นไงบ้างครับ
ถ้าคุณมีโอกาสได้มาญี่ปุ่นในช่วงฟใบไม้ร่วงก็อย่าลืมมา “ไหว้พระจันทร์” กันนะครับ